Pages

Sunday, June 21, 2020

แฉมุกยอดฮิตแฮ็กเกอร์หลอกลวงประชาชน - ช่อง 7

kuncikn.blogspot.com
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจจับกุมแฮ็กเกอร์ที่ใช้มุกต่าง ๆ หลอกลวงผู้เสียหายได้หลายคดี ทีมอาทิตย์ติดข่าวจึงรวมฮิตมุกที่แฮ็กเกอร์ชอบใช้ล้วงข้อมูลสร้างความเสียหาย และวิธีการป้องกันตัวจากเหล่าแฮ็กเกอร์เหล่านี้

มุกยอดฮิตของแฮกเกอร์ที่มักชอบนำมาใช้ แบ่งได้ 3 รูปแบบใหญ่ รูปแบบแรก อันนี้แฮ็กเกอร์นิยมใช้มากที่สุด เรียกว่า "การสวมรอยเป็นบุคคลอื่น" โดยคนร้ายจะพยายามล้วงข้อมูลส่วนตัวของเราให้ได้มากที่สุด แล้วนำไปวิเคราะห์เป็นรหัสผ่าน บางรายอาจขอรหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนตัวตรง ๆ โดยใช้วิธีการรูปแบบแอบแฝงต่าง ๆ แล้วสวมรอยเป็นผู้เสียหายไปขอยืมทรัพย์สิน ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและคนรู้จัก หรือเอาไปหลอกบุคคลอื่นต่อ

รูปแบบต่อมาคือ การแอบอ้าง แอบอ้างเป็นหน่วยงาน, บริษัท, หรือคนดังต่าง ๆ, มาในรูปแบบการคืนภาษี, ถูกรางวัลชิงโชค, ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล, ให้เลขเด็ด, ของยอดนิยมหรือสินค้าอินเทรนลดราคาต่ำกว่าท้องตลาด ทั้งหมดทั้งมวลคนร้ายจะต้องขอข้อแลกเปลี่ยนเป็นข้อมูลส่วนตัว อย่างเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด, รหัสส่วนตัวต่าง ๆ หากตอนนั้นขาดสติเผลอให้ไป สุดท้ายกว่าจะรู้ตัวอาจสูญเสียทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมากแล้ว

รูปแบบสุดท้าย ศัพท์ทางเทคนิค เรียกว่าการฟิชชิง หรือถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ลิงก์โฆษณาแอบแฝง บางครั้งจะโผล่มาในกลุ่มไลน์ แช็ตข้อความ อีเมล และหน้าเว็บไซต์ หลอกว่าให้เรายืนยันตัวตน รับส่วนลดสินค้ายอดนิยม ทำแบบสอบถาม ร่วมโหวตให้ดาราหรือศิลปินที่ชื่นชอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะแอบสะกดรอยเรามาจากการท่องเว็บไซต์ หรือใช้บริการแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก่อนจะมาใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นเหยื่อล่อ หากหลงกดลิงก์เหล่านี้เข้าไป แฮ็กเกอร์ก็จะเจาะเข้าสู่ระบบของมือถือหรือคอมพิวเตอร์เราได้ง่าย ๆ หากไม่มีระบบการป้องกันที่เพียงพอ

วิธีการป้องกันตัวจากแฮกเกอร์ ไม่ควรกดเข้าไปดูลิงก์ที่มีลักษณะผิดปกติ แหล่งที่มาไม่น่าเชื่อถือ, ไม่ให้รายละเอียดข้อมูลส่วนตัวในลิงก์ที่มีแหล่งที่มาไม่น่าเชื่อถือ อย่างบัญชีธนาคาร รหัสบัตร วันหมดอายุ รหัสอีเมล, ตั้งค่าความปลอดภัยเข้ารหัส 2 ชั้น โดยตั้งรหัสแบบตัวเลข ผสมกับตัวอักษรและเครื่องหมาย ,ตั้งการแจ้งเตือนการเข้าสู่ระบบไปยังอีเมล หรือโทรศัพท์มือถือ, ไม่โอนเงินไปยังบัญชีธนาคารที่ไม่รู้จัก หรือใช้ชื่อบัญชีธนาคารที่ไม่ตรงกัน, หากมีการติดต่อขอยืมเงิน ขอความช่วยเหลือ จากบุคคลที่คุณผู้ชมรู้จักผ่านระบบออนไลน์ ให้โทรศัพท์ไปถามคนนั้น ๆ เลยว่า ต้องการให้ช่วยจริงไหม, สุดท้ายอย่าโลภ ต้องมีสติ ค่อย ๆ ตรวจสอบ และตัดสินใจไปทีละขั้นตอน อย่าเชื่อทุกอย่าง, หากเป็นผู้ที่สูงอายุหรืออยู่บ้านคนเดียว ควรติดต่อไปยังบุตรหลานหรือผู้ที่มีความรู้ให้ช่วยตรวจสอบให้ อย่าตัดสินใจคนเดียว

Let's block ads! (Why?)



"รหัสผ่าน" - Google News
June 21, 2020 at 06:42PM
https://ift.tt/313K33a

แฉมุกยอดฮิตแฮ็กเกอร์หลอกลวงประชาชน - ช่อง 7
"รหัสผ่าน" - Google News
https://ift.tt/3gN8iru

No comments:

Post a Comment